Open : 10:00-20:00 ทุกวัน
95, 97 ถ.มหาดไทย อ.เมือง จ.นครราชสีมา

แต้มกระ

Treatment Info

Treatment Detail

กระ

กระ (Freckle) คือ รอยด่างดำที่เกิดขึ้นบนใบหน้า มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลและมีขนาดเล็ก ส่วนมากมักจะขึ้นบริเวณใบหน้า ลำคอ และแขน สามารถเห็นได้ชัดเจนในกลุ่มคนผิวขาว พบได้ตั้งแต่วัยเด็ก และสามารถมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีสีคล้ำขึ้นเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ เรียกได้ว่าพัฒนาความรุนแรงไปตามวัยกันเลยทีเดียว

ซึ่งกระบวนการที่ทำให้เกิดกระก็เหมือน ๆ กับการเกิดฝ้า คือ เม็ดสีเมลานิน (Melanin pigment) ทำงานผิดปกติจนทำให้บริเวณนั้น ๆ มีสีเข้มขึ้น ส่วนสาเหตุที่ทำให้เม็ดสีเมลานินทำงานผิดปกตินั้น ส่วนมากจะเกิดจากพันธุกรรมและแสงแดด ในส่วนของพันธุกรรมจะเป็นตัวที่ทำให้มีกระตั้งแต่ในวัยเด็ก ส่วนแสงแดดจะเป็นตัวกระตุ้นให้กระนั้นมีขนาดใหญ่และมีสีคล้ำขึ้น

วิธีรักษากระ

  1. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง สำหรับผู้ที่มีแนวโน้มจะเกิดกระได้ง่าย คุณต้องเริ่มจากการป้องกันและตัดปัจจัยเสี่ยงทุกอย่าง ด้วยการหลีกเลี่ยงแสงแดด แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรทาครีมกันแดดที่สามารถช่วยป้องกันรังสี UVA และ UVB และมีค่า SPF30 PA+++ ขึ้นไป (ถ้าจำเป็นต้องตากแดดเกือบทั้งวัน ก็ควรทาครีมกันแดดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้มั่นใจว่าครีมกันแดดยังมีปริมาณเพียงพอต่อการป้องกันแสงแดด) รวมไปถึงยาคุมกำเนิดที่เราทานเข้าไปก็มีผลต่อการเกิดกระและฝ้าได้เช่นกัน ดังนั้นหากคุณต้องการคุมกำเนิดก็อาจจะหันมาเลือกใช้ยาคุมกำเนิดแบบแปะปลาสเตอร์แทน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมอีกที
  2. เลือกใช้ครีมบำรุง นอกจากการป้องกันด้วยการหลีกเลี่ยงแสงแดดแล้ว การใช้ครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมที่ช่วยยับยั้งการเกิดเม็ดสีเมลานิน อย่างครีมพวกไวเทนนิ่ง หรือครีมลดกระยี่ห้อต่าง ๆ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันการเกิดกระใหม่ ๆ และไม่ทำให้กระที่มีอยู่เดิมมีขนาดใหญ่ขึ้นได้
  3. ลดกระด้วย AHA (กรดผลไม้) เพื่อผลัดเซลล์ผิว AHA สามารถช่วยกำจัดเซลล์ผิวเก่าและช่วยผลักดันให้เซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาแทนที่ได้ และนอกจากจะช่วยกำจัดเซลล์ผิวเก่าออกไปแล้ว เม็ดสีเมลานินก็จะถูกกำจัดออกไปด้วยเช่นกัน วิธีนี้แม้จะเป็นวิธีที่ได้ผลช้า แต่ก็นับว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยและทำให้รอยกระของคุณจางลงได้จริง ส่วนกรดวิตามินเอก็สามารถช่วยเร่งการขจัดเซลล์หนังกำพร้ามีผลทำให้เม็ดสีเมลานินถูกกำจัดออกไปได้เร็วขึ้นเช่นกัน
  4. รักษาด้วยไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) ตัวยาชนิดนี้สามารถให้ผลดีและทำให้กระของคุณจางลงได้เร็วมาก เพราะมันสามารถเข้าไปยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินได้นั่นเอง แต่มันก็มีผลข้างเคียงอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ที่เห็นได้ชัดคือ มันอาจทำให้กระและฝ้าคล้ำลงเมื่อเจอแสงแดดหากคุณไม่ได้ป้องกัน ที่สำคัญสารชนิดนี้อาจเข้าไปเปลี่ยนโครงสร้างเนื้อเยื่อให้อ่อนแอลง จนเสี่ยงต่อการเป็นโรคผิวหนังที่ร้ายแรงกว่า “กระ” ที่เป็นอยู่ รวมไปถึงความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้ทาง อย. สั่งห้ามไม่ให้ครีมที่มีส่วนผสมของไฮโดรควิโนนวางขายได้ทั่วไป แต่แพทย์เท่านั้นที่สามารถจ่ายครีมที่มีส่วนผสมของสารไฮโดรควิโนนได้ โดยสามารถนำสารชนิดนี้มาผสมในครีมได้ไม่เกิน 2% เห็นไหมล่ะว่ามันต้องใช้อย่างระมัดระวังจริง ๆ
  5. เมโสรักษากระ (Mesotherapy) หลักการคือการใช้เข็มเล็ก ๆ ฉีดตัวยาเข้าไปในชั้นผิวตื้น ๆ เพื่อเป็นการกระจายตัวยาที่ใช้รักษากระลงสู่ชั้นเซลล์ที่มีปัญหา โดยจะฉีดลึกลงไปประมาณ 1-2 มม. ระยะห่างกันไม่เกิน 1 เซนติเมตร เฉพาะบริเวณที่มีปัญหากระและฝ้า และจะต้องทำการฉีดซ้ำทุก ๆ 1-2 อาทิตย์ ราคาทำต่อคอร์สก็ประมาณ 1 หมื่นบาทครับ (วิธีนี้ถ้าจะหวังผลการรักษาให้เป็นที่พอใจคงยากครับ ผมคิดว่าอย่างมากก็แค่ช่วยทำให้กระจางลงเท่านั้น)
  1. เลเซอร์รักษากระ การรักษาแบบนี้จะเป็นการยิงคลื่นแสงลงไปถึงชั้นผิวด้านใน เพื่อให้ผิวเกิดการซ่อมแซมตัวเอง พร้อมกับผลัดเซลล์ผิวได้ไวยิ่งขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้ก็สัมพันธ์กับเงินที่จ่าย เพราะเครื่องเลเซอร์นั้นมีหลายรุ่นหลายยี่ห้อ คุณภาพและราคาก็แตกต่างกันออกไป อย่างเช่น Q Switched Nd YAG, Carbon dioxide laser, Medlite C6, Spectra VRM, MDL, DFML Laser, SPM, Helios, DHL แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ก่อนที่คุณจะเอาหน้าไปฝากหมอทำเลเซอร์ คุณต้องตรวจสอบให้มั่นใจก่อนว่าได้เอาหน้าไปฝากไว้กับผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ เพราะกระมีหลายชนิดหลายประเภท การรักษาด้วยเครื่องมือแต่ละชนิดอาจให้ผลไม่เหมือนกัน
  2. รักษาด้วยเครื่อง IPL (Intense Pulsed Light) เป็นเครื่องที่ให้กำเนิดพลังงานแสงไปยังบริเวณผิวหนังที่รอยกระ ผิวหนังในส่วนที่มีเม็ดสีเมลานินปริมาณมากกว่าจะดูดซับพลังงานแสงแล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ส่งผลทำให้เม็ดสีเมลานินถูกทำลายและลดจำนวนลง มีผลทำให้กระดูจางลง (แต่ไม่หาย) หากทำตั้งแต่ 2-3 ครั้งขึ้นไป แต่การรักษาด้วยวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำการรักษาโดยผู้ที่ขาดความรู้และความชำนาญ
  3. กรอผิวด้วยเกล็ดอัญมณี (Microdermabrasion : MD) เพื่อช่วยเร่งการขจัดเซลล์ชั้นหนังกำพร้าให้หลุดเร็วขึ้น จะได้ผลสำหรับกระที่อยู่ในชั้นตื้น ๆ แต่มีข้อควรระวังคือ อาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ากำหนดระดับความแรงในการทำงานของเครื่องมือสูงเกินไป
  4. รักษาด้วยเครื่องไอออนโต เครื่องมือชนิดนี้อาศัยหลักการให้กำเนิดกระแสไฟฟ้าในระดับอ่อน ๆ และมีผลช่วยผลักยาหรือวิตามินที่เราทาไว้ก่อนบนผิวให้ซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ยาที่ทาไว้ก่อนหน้านั้นออกฤทธิ์ในการรักษาได้ดียิ่งขึ้น โดยยาหรือวิตามินที่นิยมนำมาใช้จะอยู่ในรูปแบบของเจล และที่นิยมนำมาใช้รักษากระและฝ้าส่วนมากจะเป็น เจลอาร์บูติน, เจลโคจิก, เจลวิตามินซี, เจลลิโคไลซ์ เป็นต้น การรักษาแบบนี้มีผลข้างเคียงน้อย แต่อาจมีอาการระคายเคืองได้บ้าง ส่วนเครื่องโฟโนก็สามารถนำมาใช้ร่วมกับเจลรักษากระได้เช่นเดียวกับเครื่องไอออนโต
  5. ทำทรีตเมนต์ นอกจากการทาและทำเลเซอร์แล้ว หากเราทำทรีตเมนต์เหล่านี้ควบคู่ไปด้วย ก็จะช่วยทำให้รอยกระของเราลดลงได้ไวยิ่งขึ้น ที่สำคัญยังช่วยทำให้ผิวแข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย