Open : 10:00-19:00 ทุกวัน
95, 97 ถ.มหาดไทย อ.เมือง จ.นครราชสีมา

แผลเป็นนูน (Keloid) จากการเจาะหู

การผ่าตัดแผลเป็นคีลอยด์บริเวณติ่งหูนั้นต้องอาศัยเทคนิคและความเชี่ยวชาญ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดภาวะติ่งหูผิดรูปได้
01
Aug

แผลเป็นนูน (Keloid) จากการเจาะหู

คีลอยด์ที่ติ่งหู เห็นเป็นติ่งเนื้อนูน เกิดจากการเจาะหู เข้าทำนองว่าเจาะหู แผลเป็นชนิดนี้พบได้บ่อยที่บริเวณต้นแขน เหนือกระดูกหน้าอก และใบหู หรือบริเวณที่ผิวหนังที่มันตึงมากๆ
แผลเป็นคีลอยด์ที่ติ่งหูหากเป็นในระยะแรก รีบมารักษา การฉีดยาละลายแผลเป็นอาจยุบได้ หากปล่อยทิ้งไว้จนเป็นติ่งเนื้อนูน ต้องให้การรักษาร่วมกันระหว่างการผ่าตัดและการฉีดยาละลายแผลเป็น การผ่าตัดแผลเป็นคีลอยด์บริเวณติ่งหูนั้นต้องอาศัยเทคนิคและความเชี่ยวชาญ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดภาวะติ่งหูผิดรูปได้

คีลอยด์ที่ใบหู แผลเป็นตำแหน่งนี้เกิดจากการเจาะใบหู การเจาะหูที่ตำแหน่งนี้เสี่ยงต่อการเกิดคีลอยด์มากกว่าติ่งหู ส่วนใหญ่มักเกิดในรายที่มีแผลติดเชื้อ หรือเจาะหูในตำแหน่งกระดูกอ่อนใบหู

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปเจาะหู

ถ้าเรามีแผล แล้วต่อมาแผลเริ่มหายกลายเป็นแผลเป็น และมีอาการคันร่วมด้วย มีโอกาสสูงที่จะเป็นคีลอยด์ได้
การรักษาโรคนี้ก็ค่อนข้างยากมาก นอกจากนั้นยังกลับมาเป็นใหม่ได้ง่ายด้วยค่ะ
ส่วนใหญ่จะรักษาด้วยการฉีดยา หรือการฉายรังสี
เดือนละครั้ง อาจต้องทำเป็น 10 ครั้งก็ได้

บางคนถามว่า ทำไมไม่ตัดมันออกไปเลยล่ะหม
คำตอบคือ เราจะได้แผลเป็นคีลอยด์ที่ใหญ่กว่าเดิมอีก
ดังนั้น หมอส่วนใหญ่มักจะไม่ตัดคีลอยด์ให้
แต่มีบางเคสเหมือนกันที่เราต้องตัดออก หลังจากนั้นต้องฉีดยาไว้เรื่อยๆคุมเอาไว้

สรุป โรคนี้เกิดจากการการมีบาดแผล แล้วร่างกายซ่อมแซมแผลได้ดีเกินไปหน่อย
จนมีขนาดแผลเป็นใหญ่มากกว่าขนาดของแผลเดิม

ดังนั้นต้องระวังการเกิดแผล ไม่ว่าจะตั้งใจ (เจาะหู) หรือไม่ตั้งใจ (อุบัติเหตุ) ก็ตาม
คิดเสมอว่า ถ้าเกิดเป็นคีลอยด์แล้วไม่สนุกเลยนะคะ…

 

สอบถามรายละเอียดได้ที่ เนรมิต คลินิก

inbox : m.me/neramitclinic
Line@ : @neramitclinic
Tel : 044-341440, 081-9557165