รู้จักซิลิโคนแกนตั๊กแตนให้มากขึ้นกันเถอะ
นายแพทย์สัมพันธ์ คมฤทธิ์
ศัลยแพทย์ผู้เสริมจมูกให้คนไข้มานานกว่า 25 ปี โดยผ่านประสบการณ์เหล่านี้ท่านได้เห็นปัญหาต่างๆ ในการเสริมจมูกและได้เรียนรู้วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ที่ท่านได้ถูกเชิญไปเป็นวิทยาการเพื่อให้ความรู้ด้านการเสริมจมูกในโรงเรียนแพทย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เนื่องจากท่านได้อยู่ในวงการศัลยกรรมไทยมาเป็นเวลานานและรู้จักกับศัลยแพทย์เป็นจำนวนมาก ท่านได้ตระหนักศัลยแพทย์ไทยหลายท่านจากหลากหลายสาขาวิทยามีความเชี่ยวชาญและความชำนาญสูง ท่านจึงได้เสนอแนวคิดอย่างมั่นใจและภูมิใจในความร่วมมือจากศัลยแพทย์ผู้มือชื่อเสียงท่านอื่นที่จะประกาศให้โลกรู้จักวงการศัลยกรรมไทยมากขึ้น
โดยมุ่งหวังที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการศัลยกรรมของทวีปเอเชีย
ยิ่งไปกว่านั้น ท่านเป็นศัลยแพทย์ไทยท่านแรกที่ได้สร้างสรรสิ่งประดิษฐ์ในสาขาวิทยานี้และยื่นจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์นั้น ผลงานชิ้นนี้นับเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้วงการศัลยกรรมไทยเหนือกว่าชาติอื่น
หน้านี้เป็นหน้าหนึ่งที่ถูกจัดทำไว้สำหรับศัลยแพทย์ที่ใช้แกนตั๊กแตน (หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า Mantis) ศัลยแพทย์ที่จะมาเรียนรู้การเสริมจมูกที่รามาวดีคลินิกและบุคคลทั่วไปผู้มีความสนใจ หน้านี้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของจมูกและหลักการของแกนตั๊กแตนโดยย่อ
ศัลยแพทย์ผู้ที่จะมาเรียนเสริมจมูกที่รามาวดีคลินิกควรจะอ่านหลักการโดยย่อนี้ให้เข้าใจก่อน เพื่อที่วันที่มาเรียนจะสามารถรับความรู้ใหม่ที่ไม่ได้ถูกแสดงไว้ ณ ที่นี้ได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่จะต้องใช้ในการต่อยอดเพื่อเรียนรู้สิ่งที่สูงขึ้นไป
พื้นฐานของการเสริมจมูก
รูปที่ 1 เป็นรูปกายวิภาคอย่างง่ายของโครงสร้างภายใต้ผิวหนังของจมูก
เราจะพูดถึงเฉพาะส่วนที่สำคัญต่อการเสริมจมูกด้วยแกนตั๊กแตนเท่านั้น ได้แก่ (ตามหมายเลข)
- กระดูกจมูก (nasal bone)
- กระดูกอ่อนจมูก (lateral cartilage)
- กระดูกอ่อนปลายจมูก (alar cartilage)
ทั้ง 3 ส่วน เราเรียกรวมกันว่า infrastructure ของจมูก โดยปกติ ทั้ง 3 ส่วนจะไม่เหมือนกันสำหรับคนไข้แต่ละคนและ infrastructure เหล่านี้จะมีส่วนในการเลือกรูปทรงสุดท้ายของแกนตั๊กแตน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านล่างของแกนตั๊กแตน (ส่วนท้องและด้านล่างของคอ) เพราะฉะนั้นความเข้าใจ infrastructure เหล่านี้จะส่งผลให้ศัลยแพทย์สามารถใช้แกนตั๊กแตนได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
สิ่งสำคัญที่ควรรู้
- ตำแหน่งรอยต่อระหว่าง nasal bones (1) และ lateral cartilages (2) จะมีลักษณะคล้ายหลังเต่าบริเวณที่นูนขึ้นนี้เราเรียกว่า dorsal hump
- ส่วนที่ทำให้เกิดทรงของปลายจมูกธรรมชาติคือ alar cartilages (3) โดยปกติ คนเอเชียจะมีกระดูกอ่อนปลายจมูกสั้นกว่าฝรั่ง ทำให้ปลายจมูกสั้นกว่า
- กระดูกอ่อน (พูดโดยทั่วไป) สามารถบิดไปมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ เช่น กระดูกอ่อนของหูและกระดูกอ่อนปลายจมูก
- ผิวหนังที่คลุม infrastructure ของจมูกมีความหนาไม่เท่ากันตลอดทาง บางตำแหน่งจะบางกว่าบริเวณอื่นและบางตำแหน่งจะหนากว่าบริเวณอื่น แต่ข้อยกเว้นอาจเกิดขึ้นได้
- จมูกธรรมชาติของคนเราโดยปกติจะไม่สมมาตร การที่รูจมูกไม่เท่ากันโดยธรรมชาติไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
รูปที่ 2 แสดงแบบจำลองการวางตัวของแกนตั๊กแตนภายใต้ผิวหนังของจมูก
อย่างไรก็ตาม ศัลยแพทย์ควรจะเหลาแกนตั๊กแตนให้เหมาะสมกับ infrastructure ของคนไข้แต่ละคน ไม่ควรใส่แกนตั๊กแตนเข้าไปทั้งแกนโดยที่ไม่เหลา
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://bit.ly/2szqHlT