ผ่าตัดคีลอยด์
ผ่าตัดคีลอยด์
ผ่าตัดคีลอยด์ และ แผลเป็นนูนเป็นอย่างไร ? ลักษณะเป็นปื้นนูนแข็ง ตามแนวรอยแผล (กรณีของแผลเป็นนูน) หรือล้ำออกมานอกรอยแผล (กรณีของคีลอยด์) เกิดตามหลังการบาดเจ็บหรือการอักเสบรุนแรงของผิวหนัง เนื่องจากมีการซ่อมแซมของผิวหนังที่มากผิดปกติ อาจมีอาการคันและเจ็บร่วม กรณีเป็นคีลอยด์สามารถขยายขนาดขึ้นได้เรื่อยๆ
พบบ่อยในผู้มีแผลเป็นนูนมาก่อน มีผิวเข้ม การเกิดแผลในตำแหน่งที่มีความตึงของผิวสูง เช่น หน้าอก ไหล่ สะบักหลัง แนวกราม และพบมากขึ้นในแผลติดเชื้อ แผลลึก
ผ่าตัดคีลอยด์ รักษาอย่างไร ?
วิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพดี
- การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปในแผล เป็นการรักษาหลัก
- เลเซอร์ชนิด Pulse dye laser หรือ V beam laser เป็นการรักษาร่วม โดยเลเซอร์ จะช่วยลดรอยแดงเพิ่มความเรียบเนียน เพิ่มประสิทธิภาพทั้งด้านการรักษาและป้องกันการเกิดแผลเป็น
- การจี้เย็นด้วยไนโตรเจนเหลว (Cryotherapy) เป็นการรักษาร่วมในรอยโรคที่นูนหนาแข็งมาก โดยการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ สามารถทำซ้ำทุก 2 – 4 สัปดาห์จนราบลง
ผ่าตัดคีลอยด์ หูทำได้ในบางเคสเท่านั้นนะคะ คุณหมอจะพิจารณาเป็นเคสๆไปค่ะ
หลังจากผ่าก้อนคีลอยด์ออกไปแล้ว จะนัดมาฉีดแผลเป็นเพื่อคุมอาการไว้เดือนละครั้ง ประมาณ 6 เดือน
ใครกำลังหาที่รักษาอยู่ปรึกษาเราได้นะคะ^^
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ @Neramit Clinic
📍 สาขาหน้าศาลากลางโคราช☎️ 081-9557165
📍 สาขาหน้าเดอะมอลล์โคราช☎️ 081-7251152
Line : @neramitclinic หรือ inbox สอบถามข้อมูลที่ m.me/neramitclinic www.neramitclinic.com
📍เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 10.00-19.00 น.
ผ่าตัดคีลอยด์ หูทำได้ไหม? @หมอปุ๊ NeramitClinic
https://www.youtube.com/watch?v=eBFfAFoiGik